หน้าแรก > Knowledge Station > ภาวะโลกร้อน

ภาวะโลกร้อน

18 มิถุนายน, 2010 ใส่ความเห็น Go to comments

*****ภาวะโลกร้อน หมายถึง การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของอากาศบนโลกสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอากาศบริเวณใกล้ผิวโลกและน้ำในมหาสมุทร ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้น เราจึงเรียกว่า ภาวะโลกร้อน (global warming) กิจกรรมของมนุษย์ยุคปัจจุบันทำให้โลกร้อนขึ้น ทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกในทำให้บรรยากาศเพิ่มมากขึ้น การเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกโดยตรง ได้แก่ การเผาไม้ใช้ทำเชื้อเพลิง ส่วนการเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกโดยทางอ้อม ได้แก่ การตัดไม้ทำลายป่า

*****ปรากฏการณ์เรือนกระจก หมายถึง การที่ชั้นบรรยากาศของโลกกระทำตัวเสมือนกระจกที่ยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านทะลุลงมายังพื้นผิวโลกได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวที่โลกคายออกไปไม่ให้หลุดออกนอกบรรยากาศ ทำให้โลกไม่เย็นจัดในเวลากลางคืน บรรยากาศเปรียบเสมือนผ้าห่มผืนใหญ่ที่คลุมโลกไว้ ก๊าซที่ยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านทะลุมาได้ แต่ไม่ยอมให้รังสีคลื่นยาวที่โลกคายออกไปหลุดออกนอกชั้นบรรยากาศ เรียกว่า ก๊าซเรือนกระจก

*****ทุกวันนี้ชั้นบรรยากาศของโลกถูกปกคลุมด้วยก๊าซเรือนกระจกมากเกินไป ก๊าซเรือนกระจกนั้นประกอบด้วย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นหลัก รวมถึงก๊าซมีเทน ก๊าซซีเอฟซี ก๊าซโอโซน ซึ่งมีคุณสมบัติที่ดีในการดูดกลืนและเก็บกักรังสีอินฟราเรด ดังนั้นรังสีอินฟราเรดที่ควรจะสะท้อนออกนอกโลกจะถูกเก็บสะสมไว้ในชั้นบรยากาศ ส่งผลให้พื้นผิวโลกร้อนขึ้นเรื่อยๆ

*****ปัญหาเรื่องภาวะเรือนกระจกก็คือ ก๊าซเรือนกระจกมันไม่ได้หนาขึ้นแต่มันเข้มข้นมากขึ้น สาเหตุหลักคือ ธาตุคาร์บอนที่สะสมอยู่ในรูปของน้ำมันและถ่านหิน ซึ่งควรจะอยู่ในที่ของมันในแผ่นดิน แต่เราเอามาเผาเพื่อนำพลังงานมาใช้ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

*****สาเหตุที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในชั้นบรรยากาศนั้น นอกจากมาจากการเผาไหม้ เชื้อเพลิงฟอสซิลแล้ว สาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การตัดไม้ทำลายป่าและเผาป่าเพื่อเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรม เนื่องจากต้นไม้มีคุณสมบัติที่ดีในการดูดซึมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ให้ลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ เมื่อพื้นที่ป่าลดน้อยลงปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศจึงสูงขึ้นและการเผาป่ายังทำให้ซากพืชซากสัตว์ที่อยู่ในดืนถูกทำลายกลายเป็นก๊าซชนิดนี้เพิ่มขึ้นในชั้นบรรยากาศด้วย

*****ทุกวันนี้อุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกเพิ่มขึ้นประมาณ 1 องศาเซลเซียส เปรียบเทียบกับประมาณ 100 ปีที่แล้ว โดยเฉพาะ ช่วงหลัง ค.ศ. 1980  อุณหภูมิของโลกได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

*****การละลายของน้ำแข็งที่บริเวณขั้วโลกได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนมากที่สุด น้ำแข็งที่ปกคลุมผิวโลกแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ คือ น้ำแข็งที่เกิดจากการแข็งตัวของน้ำทะเลบริเวณชายขอบของทวีปแอนตาร์กติกในซีกโลกใต้ที่ยื่นต่อเนื่องไปจากแผ่นน้ำแข็งในทวีป และแผ่นน้ำแข็งที่ปกคลุมมหาสมุทรอาร์ติกในขั้วโลกเหนือ และเมื่อฤดูร้อนมาเยือน น้ำแข็งจะค่อยๆ ละลายลง

*****ศูนย์ข้อมูลน้ำแข็งและหิมะแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา เปิดเผยถึงการสำรวจขั้วโลกเหนือขององค์กรการบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาหรือนาซา พบว่าน้ำแข็งในบริเวณมหาสมุทรอาร์กติกละลายเร็วขึ้นกว่าเดิม อุณหภูมิสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ขณะเดียวกันที่เกาะกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีการละลายของน้ำแข็งปีละ 50 ลูกบาศก์กิโลเมตร เป็นการละลายที่เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าในรอบ 10 ปี และเนื่องจากเกาะกรีนแลนด์อยู่ต่ำกว่าขั้วโลกเหนือ อุณหภูมิจึงสูงขึ้นกว่า หากน้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์ละลายหมด จะส่งผลให้ระดับน้ำทะเลขั้วโลกสูงขึ้นถึง 7 เมตร

*****ในศตวรรษที่ 21 หากอุณหภูมิประมาณ 1.1 – 6.4 องศาเซลเซียส มีผลทำให้น้ำแข็งขั้วโลกเหนือจะละลายหมดในฤดูร้อน ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเกือบ 60 เซนติเมตร น้ำทะเลจะคุกคามบริเวณชายฝั่งทั่วโลก ประชากรในทวีปเอเชียเกือบ 100 ล้านคน จะประสบปัญหาน้ำท่วมไร้ที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะในประเทศอินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน บังคลาเทศ พม่า ไทย เวียดนาม ไปจนถึงจีนและญี่ปุ่น

ภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไร

*****จากการผันแปรของภูมิอากาศที่มีผลต่อลักษณะของอากาศทั่วไป รวมทั้งประเทศไทยได้มีสัญญาณที่บ่งบอกถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น นั่นคือ ความรุนแรงของภัยธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วประเทศในเดือนพฤศจิกายน 2549 ซึ่งอยู่ในช่วงฤดูหนาว สูงกว่าปกติ 1.7 องศาเซลเซียส สูงสุดเป็นอันดับ 1 ในรอบ 56 ปีของประเทศ และในเดือนธันวาคม 2549 อุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่าค่าปกติประมาณ 1 องศาเซลเซียส เพื่อไม่ให้ประชากรโลก รวมทั้งประเทศไทย ได้รับผลกระทบที่รุนแรงจาการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ จึงควรให้ความร่วมมือในการรักษาสมดุลทางธรรมชาติให้คงอยู่ตราบนานเท่านานโดย

*****1.ร่วมกันใช้ก๊าซธรรมชาติแทนถ่านหินและน้ำมัน เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้น้อยลง

*****2. ใช้พลังงานทดแทน เช่น พลังงานจากแสงอาทิตย์ ลม และชีวมวล

*****3. รักษาป่าที่มีอยู่ให้คงอยู่ต่อไป ฟื้นฟูสภาพป่าที่เสื่อมโทรม ปลูกป่าเพิ่มขึ้น

*****4. ใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมและครัวเรือน

หมวดหมู่:Knowledge Station
  1. อามาณี
    18 กันยายน, 2010 เวลา 10:14 am

    ขอบคุณค่ะ สำหรับข้อมูล

  1. No trackbacks yet.

ใส่ความเห็น