หน้าแรก > ปัญญาบรรเจิด > ทำความรู้จัก Touch screen

ทำความรู้จัก Touch screen

18 มิถุนายน, 2010 ใส่ความเห็น Go to comments

*****ระบบเทคโนโลยีจอสัมผัส (Touch screen) ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือนั้น ถือกำเนิดขึ้นมาในห้องทดลองตั้งแต่ในครึ่งช่วงปีหลังของปี ค.ศ. 1940 ซึ่งการวิจัยและทดลองดังกล่าวนั้น เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ PLATO ซึ่งภายหลังได้มีการนำออกมาใช้งานในปี ค.ศ. 1975 และต่อมาในปัจุบันระบบเทคโนโลยีจอสัมผัสนั้น ได้เป็นที่นิยมอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากการใช้งานที่แพร่หลาย นับตั้งแต่ตู้ ATM  เครื่องเล่นเกมส์  เครื่องคิดเงิน  ป้ายแสดงข้อมูลในพิพิธภัณฑ์  เครื่องเสียง และที่นิยมมากที่สุดก็คือ โทรศัพท์มือถือ

*****สำหรับระบบเทคโนโลยีจอสัมผัสที่เป็นที่นิยมนี้  สามารถแบ่งได้อย่างกว้างๆ เป็น 2 แบบ คือ

**********1. แบบ Resistive ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขว้างในเครื่องมือเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ระบบจอสัมผัส อย่างเช่นโทรศัพท์มือถือประเภท PAD ระบบนี้จะมีชั้นเลเยอร์สองชั้นที่เคลือบสารนำไฟฟ้าโปร่งแสง โดยชั้นแรกจะมีความยืดหยุ่น ส่วนชั้นที่สองนั้นจะเป็นพื้นเลเยอร์สองชั้นนี้จะประกบกันโดยมีเม็ดฉนวนกั้นอยู่เพื่อกันไม่ให้ชั้นเลเยอร์ทั้งสองสัมผัสกัน แต่เมื่อมีแรงกดลงไปที่เลเยอร์ชั้นแรก ก็จะทำให้วงจรขของทั้งสองเลเยอร์ต่อถึงกัน จากนั้นวงจรก็จะควบคุมการคำนวณและค่ากระแสไฟฟ้าตามแนวตั้งและแนวนอนจนได้ตำแหน่งที่สัมผัส และจึงแสดงผลออกมา เนื่องจากเทคโนโลยี Resistive นี้ อาศัยการประมวลผลข้อมูลจากแรงกด จึงสามารถใช้ได้ทั้งนิ้วมือและ stylus pen แต่เพื่อการประมวลผลที่แม่นยำนั้น เทคโนโลยีนี้จำเป็นต้องใช้ stylus pen

**********2. แบบ Capacitive ประกอบด้วยแผ่นแก้วเคลือบผิวด้วยเมทัลลิกโปร่งแสง โดยมีรูปแบบของขั้วไฟฟ้า (อิเล็กโทรด) อยู่ที่แต่ละมุมของแผ่นแก้ว ซึ่งทำหน้าที่ปล่อยกระแสไฟอ่อนๆ ไปทั่วทั้งผิวเคลือบ เมื่อสัมผัสด้วยนิ้วมือที่แผ่นแก้ว ก็จะทำให้กระแสไฟฟ้าจากแต่ละมุมตกลง จากนั้นแผงวงจรควบคุมก็จะคำนวณเป็นตำแเหน่งที่สัมผัสได้ โดยไม่ต้องใช้แรงกด จึงทำให้เทคโนโลยีนี้ไม่ต้องใช้ stylus pen

******************************************************************************************************

แปลและเรียบเรียงจาก : http://en.wikipedia.org/wiki/Touchscreen, http://en.wikipedia.org/wiki/Resistive_touchscreen , http://www.ezscreen.com/capacitive_touch_screens.html

หมวดหมู่:ปัญญาบรรเจิด
  1. ยังไม่มีความเห็น
  1. No trackbacks yet.

ใส่ความเห็น